สอนวิธีสมัคร m flow จ่าย ระบบเก็บค่าทางด่วนแบบไม่มีไม้กั้น วิ่งก่อนจ่ายทีหลัง สมัครง่ายเพียงแค่ 5 ขั้นตอน พร้อมสอนวิธีชำระเงินค่าเอ็มโฟล์ว แบบไม่ต้องกังวลว่าจะเสียค่าปรับ 10 เท่า
M-Flow คืออะไร?
M-Flow คือ ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (Free Flow) ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ โดยเอ็มโฟล์วจะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแบบ Video Tolling ในการบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถด้วยกล้องตรวจบันทึกภาพ แทนการเก็บค่าผ่านทางแบบระบบไม้กั้น
ระบบ M Flow สามารถรองรับการใช้งานกับรถยนต์ทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตให้วิ่งบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือทางพิเศษ ทั้งรถยนต์ 4 ล้อ รถยนต์ 6 ล้อ และรถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไป
ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้เปิดให้ประชาชนชนทั่วไป สมัครใช้ระบบ M Flow มอเตอร์เวย์ไร้ไม้กั้น และเริ่มเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 9 หรือ วงแหวนกาญจนาภิเษก (บางปะอิน-บางพลี) จำนวน 4 ด่าน ได้แก่
- ด่านทับช้าง 1
- ด่านทับช้าง 2
- ด่านธัญบุรี 1
- ด่านธัญบุรี 2
- และจะขยายเส้นทางให้บริการเอ็มโฟล์วต่อไปในอนาคต
ขับรถผ่าน M Flow ใช้ความเร็วได้เท่าไหร่?
ระบบ M-Flow จะช่วยให้ผู้ใช้รถยนต์สามารถขับขี่ผ่านบริเวณด่านฯ โดยไม่ต้องหยุดหรือชะลอรถ ด้วยความเร็วได้ถึง 120 กม./ชม. ช่วยระบายรถได้ 2,000 – 2,500 คัน/ชม./ช่องทาง เร็วขึ้นกว่าระบบเดิมที่ใช้อยู่ถึง 5 เท่า
M-Flow สมัครผ่านช่องทางไหนได้บ้าง
สำหรับการสมัครสมาชิก เอ็มโฟล์ว นั้น สามารถสมัครได้ผ่าน 4 ช่องทาง ดังนี้
- เว็บไซต์ www.mflowthai.com
- แอปพลิเคชั่น Mflow
- จุดบริการของกรมทางหลวง
- ไลน์แอด @mflowthai
ขั้นตอนการสมัคร M-Flow ด้วยตนเอง
1. ยืนยันตัวตน
ให้ยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ และกรอก OTP
ยืนยันตัวตนสมัคร mflow
2. กรอกข้อมูลส่วนตัว
กรอก E-mail และรหัสผ่าน
กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ สกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน รายละเอียดผู้ขับขี่
อัปโหลดรูปหน้าคู่กับบัตรประชาชน
ยืนยัน OTP ที่ได้รับทาง E-mail
กรอกข้อมูลส่วนตัว
3. กรอกที่อยู่
กรอกที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
กรอกที่อยู่ปัจจุบัน
ใส่ที่อยู่
4. ลงทะเบียนรถ
ระบุความเป็นเจ้าของรถ
ประเภทป้ายทะเบียนรถ
รายละเอียดของตัวรถ อาทิ ประเภท ยี่ห้อ สี
อัปโหลดรูปถ่ายเล่มทะเบียนรถ และรูปรถ ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังรถ
ลงทะเบียนรถ
5. เลือกวิธีการชำระเงิน
วิธีการชำระเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
#1.ชำระเป็นรายครั้ง (ผ่านบัตรอัตโนมัติ 5 ประเภท)
- บัตรเครดิต
- บัตรเดบิต
- ผ่านบัญชีธนาคาร
- M-Pass
- Easy Pass
#2. ชำระตามรอบบิล ทุกวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน (ผ่านบัตรอัตโนมัติ 3 ประเภท)
- บัตรเครดิต
- บัตรเดบิต
- ผ่านบัญชีธนาคาร
m flow จ่ายเงินยังไง?
สำหรับวิธีการชำระค่าธรรมเนียมในการใช้งาน M-Flow นั้น สามารถทำได้ผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หลังการใช้บริการ หรือ ระบบ Post Paid ทั้งแบบชำระเป็นรายครั้งหรือชำระตามรอบบิล รวมไปถึงการชำระผ่านเว็บไซต์หรือโมบายแอปพลิเคชั่นของระบบ M-Flow ตลอดจนการชำระด้วยระบบ QR Code และการชำระผ่านระบบตัดเงินอัตโนมัติ sexybaccarat
นอกจากนี้ กรมทางหลวงได้จัดหากลุ่มพันธมิตรหรือองค์กรต่าง ๆ มาเพื่อร่วมพัฒนาและต่อยอดการให้บริการ เช่น การพัฒนาระบบร่วมกับเคาน์เตอร์เซอร์วิส รับชำระเงินผ่านร้าน 7-Eleven ซึ่งเปิดตลอด 24 ชม.
จ่ายเงิน M-Flow ไม่เป็นสมาชิก ต้องทำอย่างไร
หากใช้บริการ M-Flow แล้ว แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกภายในเวลาที่กำหนด สามารถเลือกจ่ายได้หลายช่องทาง ดังนี้
เช็กยอดผ่านเว็บไซต์ M-Flow หรือแอปพลิเคชัน MFlowThai โดยกรอกทะเบียนรถ รับ QR Code เพื่อเลือกจ่ายค่าบริการได้ทั้งแอปพลิเคชันธนาคาร, ตู้ ATM, เคาน์เตอร์เซอร์วิส และเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย
- ชำระผ่านบัตรเดบิตและบัตรเครดิต
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย โดยแจ้งทะเบียนรถ
- จ่ายเงิน M-Flow สำหรับสมาชิก
- เลือกชำระอัตโนมัติโดยหักผ่านบัตรเดบิต, บัตรเครดิต, ผูกบัญชีกับธนาคารกรุงไทย หรือ M-Pass / Easy Pass (ชำระรายครั้ง)
- ชำระด้วยตนเองด้วย QR Code ผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร, ตู้ ATM, เคาน์เตอร์เซอร์วิส และเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย (ชำระรายครั้ง)
- หักผ่านบัตรเดบิต, บัตรเครดิต หรือผูกบัญชีกับธนาคารกรุงไทย (ชำระเป็นรอบบิล)
จ่ายเงิน m flow จ่าย ภายในกี่วัน หากเลยกำหนดมีค่าปรับเท่าไหร่
หลังจากใช้บริการ M-Flow แล้ว ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกหรือไม่เป็นสมาชิก มีกำหนดการชำระค่าบริการภายใน 7 วัน หลังใช้บริการผ่านทาง แต่ถ้าไม่ชำระตามกำหนด ระบบจะดำเนินการและคิด ค่าปรับ M-Flow ดังต่อไปนี้
กรณีไม่จ่ายค่าบริการภายใน 7 วัน หลังใช้บริการ ในวันถัดไป (วันที่ 8) ระบบจะส่งหนังสือแจ้งเตือนครั้งแรก เพื่อให้ชำระค่าผ่านทางตามยอดจริง และค่าเสียหายเป็น 2 เท่าของค่าผ่านทางภายใน 7 วัน
หากได้รับหนังสือแจ้งเตือนฉบับแรกแล้วยังไม่จ่ายค่าบริการภายใน 7 วัน จะมีหนังสือแจ้งเตือนอีกครั้ง โดยจะต้องจ่ายค่าผ่านทาง + ค่าเสียหาย 2 เท่าของค่าผ่านทาง + ค่าปรับ 10 เท่า ของค่าผ่านทาง และค่าปรับอีก 200 บาท ซึ่งหากยังไม่จ่ายอีก M-Flow จะดำเนินคดีตามกฎหมาย (ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ทางหลวง ปรับไม่เกิน 5,000 บาท)
การส่งหนังสือแจ้งเตือน M-Flow กรณีไม่ชำระภายใน 7 วัน
กรณีสมาชิก M-Flow ระบบจะส่ง SMS แจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน, อีเมล และหนังสือแจ้งเตือน โดยยอดบิลล่าสุดจะเป็นยอดค่าใช้บริการ รวมกับค่าปรับการชำระค่าบริการล่าช้า
กรณีที่ไม่ได้เป็นสมาชิก M-Flow จะมีหนังสือแจ้งเตือนและส่งให้ตามที่อยู่ในบัตรประชาชน
การจ่ายเงิน M-Flow ตามหนังสือแจ้งเตือนสำหรับสมาชิก
1. เมื่อได้หนังสือแจ้งเตือน ท่านสามารถทำรายการชำระเงินผ่านทางเว็บไซต์ และทาง Mobile Application ได้ด้วยการล็อกอิน และเลือก “ได้รับหนังสือแจ้งเตือน” > “ชำระเงินตามหนังสือแจ้งเตือน”
2. ดาวน์โหลดใบแจ้งหนี้ล่าสุด เพื่อนำไปชำระเงินตามช่องทาง Mobile Application ของธนาคารต่าง ๆ, ATM, เคาน์เตอร์ธนาคาร และเคาน์เตอร์เซอร์วิส
การจ่ายเงิน M-Flow ตามหนังสือแจ้งเตือนสำหรับผู้ที่ไม่ใช่สมาชิก
เมื่อได้รับหนังสือแจ้งเตือน สามารถนำหนังสือแจ้งเตือนไปจ่ายค่าบริการผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนของธนาคารต่าง ๆ, ตู้ ATM, เคาน์เตอร์ธนาคาร และเคาน์เตอร์เซอร์วิส
รถที่ห้ามไม่ให้ใช้ช่องทาง M-Flow
- รถยนต์ที่ป้ายทะเบียนซีดจาง ดัดแปลง หรือมีสิ่งบดบัง
- รถยนต์ป้ายแดง
- รถยนต์ทดสอบ (ป้าย TC และ QC)
- รถยนต์ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน
ทางด่วนที่มีบริการ M-Flow มีด่านไหนบ้าง ?
- ด่านทับช้าง 1
- ด่านทับช้าง 2
- ด่านธัญบุรี 1
- ด่านธัญบุรี 2
- ทางพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 กรุงเทพฯ – บ้านฉาง กม.2+700 (ตอนทางต่างระดับมาบประชัน – พัทยา)
วิธีสมัคร M-Flow
เข้าไปที่เว็บไซต์ mflowthai.com หรือหน้าแรกของแอปพลิเคชัน M-Flow
ยืนยันตัวตน โดยกรอกหมายเลขมือถือเพื่อรับรหัส OTP ผ่าน SMS และใส่รหัสเพื่อยืนยันตัวตน
ใส่ข้อมูลส่วนตัว โดยใช้รูปถ่ายหน้าตรงคู่กับบัตรประจำตัวประชาชน
ใส่ข้อมูลรถ รูปถ่ายเล่มทะเบียน หน้ารายการจดทะเบียนรถ กับ หน้าเจ้าของรถ รวมถึงรูปถ่ายหน้ารถ
กรณีที่ต้องการสมัคร M-Flow โดยเป็นรถบุคคลอื่น สามารถทำได้ แต่ต้องเพิ่มส่วนข้อมูลเจ้าของ/ผู้ครอบครองรถ ซึ่งจะมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของรถ ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ www.mflowthai.com หรือ คลิกที่นี่ พร้อมกับรูปบัตรประชาชนผู้ครอบครองรถ
อย่างไรก็ตาม การชำระเงินล่าช้า หรือจงใจไม่ชำระค่าบริการ นอกจากจะต้องเสียค่าปรับแล้ว ยังอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้อีกด้วย ดังนั้นควรตรวจสอบการใช้บริการและชำระค่าบริการภายในระยะเวลาที่กำหนดให้เรียบร้อยเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ